แน่งน้อย อัศวกิตติกร เลขา กปปส. ได้ออกมายอมรับว่าได้เข้าฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่สามจริง เผยเป็นผู้สูงอายุ เกรงซิโนแวคสองเข็ม ภูมิคุ้มกันไม่พอ นาง แน่งน้อย อัศวกิตติกร เลขาฯ กปปส. พิษณุโลก และ อดีตผู้สมัครส.ส.พิษณุโลก พรรครวมพลังประชาชาติไทย ได้ออกมายอมรับว่าตนได้รับขอฉีดวัคซีนเข็ม 3 จริง โดย ระบุว่า สาเหตุที่ต้องไปขอฉีดวัคซีนเข็ม 3 เนื่องจากตนเองทำงานด่านหน้ามาโดยตลอด นำสิ่งของต่างๆ จากการบริจาคมามอบให้กับจุดคัดกรอง หรือโรงพยาบาลสนามมาโดยตลอด
ด้วยความเป็นผู้สูงอายุที่ผ่านมาการฉีดวัคซีนนั้น
ตนเองมีคิวที่จะฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าอยู่แล้ว แต่เนื่องจากช่วงแรกๆ ประชาชนออกมาฉีดวัคซีนน้อย จึงมาช่วยรณรงค์ให้ประชาชนหันมาฉีดวัคซีนให้มากขึ้น ด้วยการไปฉีดวัคซีนซิโนแวคแทนทั้ง 2 เข็ม
“แน่งน้อย” กล่าวอีกว่า มีแพทย์มาบอกตนเองว่าการเป็นผู้สูงอายุ ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มนั้นไม่ดี อาจเสี่ยงต่อภูมิคุ้มกันเหลือน้อย เนื่องจากเป็นผู้สูงอายุ ตนจึงได้ขอเข้าไปฉีดวัคซีนเข็ม 3 ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าไปแอบอ้างว่าเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกบ้าง หรือไปบีบบังคับบุคลากรทางการแพทย์นั้นก็ไม่จริงแต่อย่างใด ที่ผ่านมาก็ไม่เคยเป็นคนอ้างใครอยู่แล้ว โดยเฉพาะการทำงานก็ทำด้วยใจและทำเพื่อสังคมมาโดยตลอด
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้เพจ CSI LA ได้ออกมาโพสต์ข้อความกล่าวหาว่า นางแน่งน้อย ได้ อภิสิทธิ์ชนพาตัวเองและพวกพ้องไปฉีดวัคซีนเป็นเข็มที่สาม เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนชั่วคราวมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
ไผ่ ดาวดิน และกลุ่มม็อบทะลุฟ้า รวม 20 กว่าคนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม หลังปักหลักเรียกร้องปล่อยตัวและคืนรถขยายเสียงที่ถูกยึดเมื่อวาน นาย นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความประจำศูนย์สิทธิมนุษยชน ทนายความของแกนนำคณะราษฎร ได้โพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์ระบุว่า ไผ่ ดาวดิน พร้อมกับเพื่อน ๆ ทีมทะลุฟ้า จำนวนกว่า 20 คน ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมตัว ขณะนี้นี้กำลังนำตัวไปที่ ค่าย ตชด.ภาค 1 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
ทั้งนี้ ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กำลังจะตามไปยังที่ ค่าย ตชด.ภาค โดยทางสำนักข่าวมติชนบรรยายว่า ตำรวจควบคุมฝูงชน จำนวน 3 กองร้อย เข้ากระชับพื้นที่การชุมนุม ที่มีนายจตุภัทร์ หรือไผ่ดาวดิน ที่นำมวลชนกลุ่มทะลุฟ้ามาปักหลักเรียกร้องขอปล่อยตัวและคืนรถขยายเสียง ที่ถูกจับมาเหตุการณ์คาร์ม็อบ ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา
โดยกลุ่มมวลชนทั้งชาย และหญิงเรียกร้อง พร้อมนำสีน้ำ และสีสเปรย์ฉีดพ่นใส่ตามรั้ว กำแพง และพื้นผิวถนน และทางตำรวจได้รับความเสียหาย จากกสีเปรอะชุดเครืองแบบ ต่อมา ตำรวจควบคุมฝูงชน พร้อมชุดปราบจราจล โล่ กระบอง เรียกกำลังเข้ากระชับพื้นที่ ก่อนควบคุมตัวนายจตุภัทร์ พร้อมมวลชน จำนวนหลายคน ขึ้นรถผู้ต้องขังที่มาจอดรอรับ พร้อมทั้งกันสื่อมวลชนและผู้ไม่เกี่ยวข้องออกนอกพื้นที่
ตัวแทน ‘สื่อ’ รวมตัวยื่นศาลแพ่ง ถอน ข้อกำหนดฉบับที่ 29
ตัวแทนสื่อมวลชนและทนายรวมตัวยื่นศาลแพ่งเพื่อนถอนคำสั่ง ข้อกำหนดฉบับที่ 29 ที่ว่าด้วยการห้ามเผยแพร่ข่าวที่สร้างความหวาดกลัว ตัวแทนสื่อมวลชนจาก Voice, The Standard, The Momentum, THE MATTER, ประชาไท, Dem All, The People, way magazine, PLUS SEVEN และ ทนายความภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และตัวแทนสื่อออนไลน์ รวม 12 คน ได้รวมตัวยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และในฐานะ ผอ.ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19
โดยมีจุดประสงค์ให้ศาลแพ่งมีคำสั่งเพิกถอนข้อกำหนดฉบับที่ 29 ที่ให้อำนาจ กสทช.หยุดการสื่อสารออนไลน์ หรือ “ตัดเน็ต” ผู้โพสต์ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว ซึ่งเป็นการออกคำสั่งโดยไม่มีอำนาจ ไม่มีความจำเป็น ไม่ได้สัดส่วน และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 นอกจากนี้ยังได้ยื่นคำร้องขอให้คุ้มครองชั่วคราว และขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองชั่วคราวด้วย
นายนรเศรษฐ์ กล่าวว่า วันนี้ตัวแทนสื่อและภาคประชาชน 12 คน เป็นโจทก์ยื่นให้ศาลเพิกถอนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อที่ 29 ซึ่งออกโดยนายกรัฐมนตรี ในลักษณะที่ห้ามไม่ให้นำเข้า ข้อความที่อาจจะทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว ซึ่งข้อกำหนดนี้อาจทำให้ตีความได้ว่าแม้การนำเข้าความจริงหรือนำเสนอข่าวตามความจริง ก็อาจจะเป็นความผิดตามข้อกำหนดฉบับนี้ได้ จึงเห็นว่าขัดต่อหลักความชัดเจน หลักไม่มีความผิด ไม่มีกฎหมาย ไม่มีโทษตามกฎหมายอาญา และขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ประเด็นต่อมาสื่อมวลชนต้องมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร เป็นเสรีภาพที่ได้รับการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 34, 35, 26 การจำกัดในลักษณะนี้เท่ากับเป็นการจำกัดเสรีภาพในการเสนอข่าว ด้วยความจริงอย่างตรงไปตรงมา และข้อกำหนดฉบับนี้ให้อำนาจคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สั่งให้ผู้ให้บริการทำการตรวจสอบข้อมูลว่าผู้ใดกระทำผิด และให้มีอำนาจระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ต
การกำหนดลักษณะนี้มีความไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประการ คือใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9 ไม่ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสั่งระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ การออกข้อกำหนดนี้จึงเกินกว่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ไม่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โดยภายหลังยื่นฟ้อง ศาลได้รับคำฟ้องไว้ในสารบบเป็นคดีหมายเลขดำ พ.3618/2564 เพื่อนัดชี้สองสถานต่อ ส่วนคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว ขณะนี้ยังไม่มีการเเจ้งคำสั่งลงมา
แนะนำ : เคล็ดลับต่างๆ | เว็บรวมวิธีต่างๆ How to | จัดอันดับซีรีย์ | รีวิวครีม